Tech Rumors

DDproperty LGBTQIAN Property Trends 02
34
0

สมรสเท่าเทียมเปิดประตูสู่บ้านในฝัน ดันเทรนด์ที่อยู่อาศัยสดใสในเศรษฐกิจสีรุ้ง

สมรสเท่าเทียมเปิดประตูสู่บ้านในฝัน ดันเทรนด์ที่อยู่อาศัยสดใสในเศรษฐกิจสีรุ้ง ในวันนี้กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQIAN+ ได้เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจทั่วโลกที่รู้จักกันในชื่อเศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy) เนื่องจากกลุ่ม LGBTQIAN+ มีอำนาจการใช้จ่ายสูงและพร้อมที่จะใช้จายเพื่อเพิ่มความสุขส่วนตัวตามไลฟ์สไตล์ที่ชอบอย่างเต็มที่ ในขณะที่ประเทศไทยเปิดกว้างและยอมรับในความหลากหลายทางเพศ เห็นได้จากพลังสังคมที่ร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนให้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างสังคมที่เท่าเทียมในอีกมิติ  ข้อมูลจากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) รายงานผลงานวิจัยในหัวข้อ “Love Wins Marketing: ถอดรหัสการตลาดหลัง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” พบว่า กลุ่มผู้บริโภค LGBTQIAN+ ไทยมีจำนวนมากกว่า 5.9 ล้านคน หรือคิดเป็น 9% ของประชากรทั้งประเทศ จึงกลายเป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจใหม่ที่ธุรกิจควรจับตามองโดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์  นอกจากนั้น 54% ของประชากรกลุ่มนี้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ในจำนวนนี้พบว่า 79.1% สนใจเลือกซื้อบ้านเดี่ยว และ 20.9% เลือกที่จะย้ายไปอยู่กับคู่รัก โดยมีงบประมาณเฉลี่ย 3-5 ล้านบาท และมีความสนใจที่อยู่อาศัยแตกต่างกันไป สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัจจัยที่ทุกเพศทุกวัยให้ความสำคัญมาโดยตลอด ...

Latest Articles

  • DDproperty LGBTQIAN Property Trends 02
    34
    0

    สมรสเท่าเทียมเปิดประตูสู่บ้านในฝัน ดันเทรนด์ที่อยู่อาศัยสดใสในเศรษฐกิจสีรุ้ง

    สมรสเท่าเทียมเปิดประตูสู่บ้านในฝัน ดันเทรนด์ที่อยู่อาศัยสดใสในเศรษฐกิจสีรุ้ง ในวันนี้กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQIAN+ ได้เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจทั่วโลกที่รู้จักกันในชื่อเศรษฐกิจสีรุ้ง (Rainbow Economy) เนื่องจากกลุ่ม LGBTQIAN+ มีอำนาจการใช้จ่ายสูงและพร้อมที่จะใช้จายเพื่อเพิ่มความสุขส่วนตัวตามไลฟ์สไตล์ที่ชอบอย่างเต็มที่ ในขณะที่ประเทศไทยเปิดกว้างและยอมรับในความหลากหลายทางเพศ เห็นได้จากพลังสังคมที่ร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนให้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างสังคมที่เท่าเทียมในอีกมิติ  ข้อมูลจากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) รายงานผลงานวิจัยในหัวข้อ “Love Wins Marketing: ถอดรหัสการตลาดหลัง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม” พบว่า กลุ่มผู้บริโภค LGBTQIAN+ ไทยมีจำนวนมากกว่า 5.9 ล้านคน หรือคิดเป็น 9% ของประชากรทั้งประเทศ จึงกลายเป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจใหม่ที่ธุรกิจควรจับตามองโดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์  นอกจากนั้น 54% ของประชากรกลุ่มนี้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ในจำนวนนี้พบว่า 79.1% สนใจเลือกซื้อบ้านเดี่ยว และ 20.9% เลือกที่จะย้ายไปอยู่กับคู่รัก โดยมีงบประมาณเฉลี่ย 3-5 ล้านบาท และมีความสนใจที่อยู่อาศัยแตกต่างกันไป สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงเป็นปัจจัยที่ทุกเพศทุกวัยให้ความสำคัญมาโดยตลอด คู่ชีวิต LGBTQIAN+ ควรรู้! ใช้สิทธิจัดการสินสมรสที่เป็นอสังหาฯ ได้อย่างไรบ้าง นอกจาก พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะช่วยให้คู่ชีวิต LGBTQIAN+ สามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมายแล้ว ยังมาพร้อมสิทธิต่าง ๆ ที่คู่สมรสพึงมี ไม่ว่าจะเป็นการดูแลชีวิตคู่ การจัดการทรัพย์สิน/หนี้สิน ไปจนถึงการจัดการสินสมรสร่วมกัน ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ชวนชาว LGBTQIAN+ ทำความเข้าใจการจัดการสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ (ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474) ว่าเรื่องใดที่ต้องทำร่วมกันบ้าง ทั้งนี้ กฎหมายเปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถตกลงรูปแบบ วิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรสที่แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดได้ตามที่คู่สมรสเห็นสมควร หากไม่ได้ทำสัญญาตกลงกันเรื่องจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสแล้ว เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการสินสมรสที่มีร่วมกันและแบ่งให้แต่ละฝ่ายเท่า ๆ กันตามกฎหมาย ข้อมูลจากสำนักงานกิจการยุติธรรม เผยว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ...
  • Cloudflare2
    47
    0

    ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม

    ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม   บทความโดย เคนเนธ ไล, รองประธานภูมิภาคอาเซียน, คลาวด์แฟลร์   ภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน องค์กรต่างต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในด้านปริมาณและความซับซ้อน ข้อมูลจากสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ (NCA) พบว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2568 องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยประสบกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์มากกว่า 1,002 เหตุการณ์ ความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ ภัยคุกคามใหม่ที่เกิดจาก AI และการขาดแคลนบุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์   มีการประเมินไว้ว่าความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกในปัจจุบันสูงกว่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การประเมินนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจยังต้องเผชิญปัญหาสำคัญด้านภัยคุกคามไซเบอร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คลาวด์แฟลร์ (Cloudflare) ได้เผยแพร่รายงาน Cloudflare Signals Report ซึ่งชี้ให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนของภูมิทัศน์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงภัยคุกคามดิจิทัลและเสริมสร้างความมั่นคงทางไซเบอร์   ผลการศึกษาพบว่าในปีที่ผ่าน Cloudflare สามารถสกัดกั้นการโจมตี DDoS ได้มากกว่า 20.9 ล้านครั้งซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 50% จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ องค์กรในประเทศไทยมากกว่าครึ่ง (63%) ประสบปัญหาการละเมิดข้อมูล แม้หน่วยงานภาครัฐจะมีคำแนะนำไม่ให้จ่ายค่าไถ่ แต่ 52% ขององค์กรที่ถูกละเมิดก็ยังยอมจ่ายค่าไถ่ สถานการณ์นี้สะท้อนความเป็นจริงที่น่ากังวลที่องค์กรไทยกำลังเผชิญ นั่นคือขนาดและความซับซ้อนของภัยคุกคามไซเบอร์กำลังล้ำหน้าระบบการป้องกันแบบเดิม ๆ แม้ว่ารัฐบาลไทยได้เปิดตัวโครงการ ‘ปีแห่งความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์: Cyber Security Year‘ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมากกว่า 100 แห่ง เพื่อรับมือภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น แต่ความซับซ้อนของภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันนั้นแสดงให้เห็นว่า ความแข็งแกร่งทางไซเบอร์ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของแผนกไอทีเพียงลำพังอีกต่อไป แต่มันคือกลยุทธ์ที่ผู้บริหารระดับสูงทั้งหมดจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วม   โซลูชันที่ทันสมัยแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น: ใช้ AI สู้กับ AI   การทำงานจากระยะไกลและการใช้คลาวด์ที่เพิ่มขึ้นทำให้พื้นที่การโจมตีของภัยคุกคามภายในองค์กรขยายวงกว้างและตรวจจับได้ยากขึ้น ผู้โจมตีกำลังพุ่งเป้าไปที่การโจมตีแบบอัตโนมัติที่สามารถหลบหลีกการตรวจจับและใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ต่าง ๆ ได้เร็วเกินกว่าที่องค์กรจะรับมือทัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลประจำตัวที่ขโมยมา (credential stuffing) โจมตีด้วยบอต ไปจนถึงการใช้ AI ควบคุมการโจมตี DDoS ปัจจุบัน ...
  • Gartner pic 3 rs
    36
    0

    5 ปีข้างหน้า การ์ทเนอร์ ระบุ “Guardian Agents” ขยายตลาด Agentic AI

    Guardian Agents: โล่ป้องกัน AI สู่ยุคใหม่ของการทำงานอัตโนมัติที่ปลอดภัย! การ์ทเนอร์ชี้อีก 5 ปีข้างหน้า “Guardian Agents” จะมีสัดส่วนในตลาด Agentic AI อย่างน้อย 10-15% ตอบโจทย์ความต้องการระบบความปลอดภัยอัจฉริยะที่เพิ่มขึ้น หลัง AI Agents เติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ก็มาพร้อมความเสี่ยงที่องค์กรต้องรับมือ!   ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนธุรกิจและชีวิตประจำวัน การ์ทเนอร์ (Gartner) บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้เปิดเผยการคาดการณ์ที่น่าสนใจว่า ภายในปี 2573 เทคโนโลยีความปลอดภัยที่เรียกว่า “Guardian Agents” จะเข้ามามีสัดส่วนในตลาด Agentic AI อย่างน้อย 10-15% ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าความต้องการระบบป้องกันและควบคุม AI กำลังทวีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้การทำงานของ AI มีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และไร้ความเสี่ยงในสภาวะที่การใช้งาน AI ขยายตัวอย่างรวดเร็ว   Guardian Agents คือ เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ AI เป็นพื้นฐานการทำงาน ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนและทำงานร่วมกับ AI เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย โดยทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ช่วย AI ที่คอยสนับสนุนผู้ใช้ในงานต่าง ๆ อาทิ การตรวจสอบเนื้อหา ...
  • LTS mai FORUM 2025 ceo
    52
    0

    21 มิ.ย.นี้ LTS เปิดบ้านต้อนรับนักลงทุนใน mai FORUM 2025 พบโซลูชัน AI – Smart Tech เสริมพอร์ตอนาคต

    LTS ร่วมงาน mai FORUM 2025 ชูนวัตกรรม AI – Smart Lighting – IT Solutions รับเมกะเทรนด์โลก  โชว์ศักยภาพผู้นำ “แสงสว่าง-ไอที”  บริษัท ไลท์อัพ โทเทิล โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ LTS ผู้นำด้านโซลูชันแสงสว่างอัจฉริยะและเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจร เข้าร่วมงาน mai FORUM 2025 ภายใต้แนวคิด “ติดอาวุธ คว้าโอกาส ในตลาด mai” วันที่ 21 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22 ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ mai FORUM 2025  ทาง LTS  จะมีนำเสนอภาพรวมธุรกิจ การเติบโต และนวัตกรรมล่าสุดด้าน Lighting Solutions ...
  • IB Fin
    56
    0

    เปิดประตูจับคู่ “เด็ก-บจ.” ฝึกคิดไอบี “CMCC 2025” สร้างวาณิชธนกรยุค AI สู่ตลาดทุนดิจิทัล

    ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจ การพัฒนากำลังคนที่มีความรู้ความสามารถรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเงิน ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลนี้ ชมรมวาณิชธนกิจ (IB Club) และ บริษัท ฟินน์คอร์ป แอดไวซอรี่ จำกัด (FynnCorp Advisory) จึงได้ผนึกกำลังกันอีกครั้ง จัดโครงการ Capital Market Case Competition (CMCC) 2025 เป็นปีที่ 3 ภายใต้แนวคิดสุดล้ำ “FINNOVATIVE AI SOLUTION FOR INCLUSIVE GROWTH” หรือ “นวัตกรรมทางการเงินเพื่อการเติบโตของตลาดทุนไทยอย่างทั่วถึง” โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) โครงการนี้ไม่เพียงมุ่งเฟ้นหานักการเงินหน้าใหม่เท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำคัญให้ตลาดทุนไทยก้าวสู่ยุคดิจิทัล ในส่วนของทรัพยากรมนุษย์ทางด้านวิชาชีพ กับบุคลากรที่มีความเข้าใจในบทบาทของวาณิชธนกิจและเทคโนโลยี AI สำหรับบริการอย่างลึกซึ้ง   CMCC 2025: เวทีสร้าง Investment Banking แห่งอนาคต นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานคณะกรรมการการแข่งขัน CMCC 2025 และประธานกรรมการชมรมวาณิชธนกิจ ...
  • ศูนย์ดิจิทัลชุมชน โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
    75
    0

    ปลัดดีอีเปิดศูนย์ดิจิทัลชุมชนพิษณุโลก เดินหน้าเชื่อมไทยสู่รัฐบาลดิจิทัล ยกระดับชีวิตคนท้องถิ่น

    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เร่งเดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทั่วประเทศผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ล่าสุด ปลัดกระทรวงดีอี นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เปิดศูนย์ดิจิทัลชุมชนแห่งใหม่ พร้อมติดตามความคืบหน้าการใช้งานระบบ e-Office และร่วมกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมในสถานศึกษา หนุนภาครัฐเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล ลดเหลื่อมล้ำ เข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เปิดศูนย์ดิจิทัลชุมชนโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม หนุนการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่ม ผ่านการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างทั่วถึง พร้อมเยี่ยมชมระบบ e-Office เทศบาลเมืองพิษณุโลก ที่ยกระดับการบริหารงานราชการด้วยระบบคลาวด์ และเป็นประธานกิจกรรมให้ความรู้ “รู้เท่าทันข่าวปลอม” แก่นักเรียนโรงเรียนวังทองพิทยาคม สะท้อนนโยบายเร่งผลักดันประเทศสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีผู้ใช้งาน e-Office ทั่วประเทศทะลุกว่า 6 แสนคนแล้วในเวลาเพียง 5 เดือน ศูนย์ดิจิทัลชุมชน: เครื่องมือสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่ม ศูนย์ดิจิทัลชุมชนโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม เป็นหนึ่งใน 1,722 แห่งทั่วประเทศที่ได้รับการยกระดับจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ภายใต้นโยบายกระทรวงดีอี โดยมีเป้าหมายในการยกระดับทักษะดิจิทัลให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทหรือห่างไกล ภายในศูนย์ฯ ได้จัดสรรอุปกรณ์ดิจิทัลครบครัน อาทิ คอมพิวเตอร์, เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน, สมาร์ททีวี, โปรเจกเตอร์, ระบบเสียง, กล้องดิจิทัล, ...
Load More