• cconnectnews ncsa cyber war
    958
    0

    สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) อัปเดตสถานการณ์การโจมตีทางด้านไซเบอร์ ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่าง “รัสเซีย กับ ยูเครน”  ถกหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศเตรียมรับมือเหตุการณ์ รวมถึงป้องกันและลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน   นาวาอากาศเอก อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า จากกรณีความขัดแย้งระหว่าง “รัสเซีย กับ ยูเครน” ทำให้มีการปฏิบัติการโจมตีทางทหารและการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้น โดยมีเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ในระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 ในรูปแบบ DDoS (Distributed-denial-of-service) หรือการก่อกวนเว็บไซต์ของหน่วยงานสำคัญระดับประเทศ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และภาคธนาคาร โดยทำการเข้าถึงหลายเว็บไซต์พร้อม ๆ กัน ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ส่งผลให้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตล่ม และยังมีการตรวจพบมัลแวร์ชื่อ Hermetic Wiper ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่เน้นการล้างข้อมูลของเป้าหมายบนระบบเครือข่ายภายในประเทศยูเครน ซึ่งบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์เปิดเผยว่ามัลแวร์นี้จะสร้างความเสียหายให้กับ Master Boot Record (MBR) ทำให้คอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ไม่สามารถทำงานได้   ทั้งนี้ ยังมีการตรวจพบมัลแวร์ชื่อ Cyclops Blink จากกรณีการปลอมแปลงเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาลของประเทศยูเครน ...
  • ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล
    369
    0

    กลุ่มบริษัทจีเอเบิล เสริมความมั่นคงให้กับธุรกิจไทย พัฒนาโซลูชันป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ครบวงจร Holistic G-Cyber Solution เครื่องมือเสริมแกร่งธุรกิจก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า ด้วยปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ ส่งผลให้หลายๆ องค์กรต้องมีการปรับตัวเข้าไปสู่โลกดิจิทัลเร็วขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้นทวีคูณเช่นกัน จากผลสำรวจของการ์ทเนอร์พบว่า การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที และคาดมูลค่าความเสียหายจากภัยไซเบอร์ในอนาคตอันใกล้นี้จะสูงถึง 300 ล้านล้านบาท  โดยเหล่าแฮกเกอร์สามารถโจมตีได้ในช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติ ไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน นอกจากนี้การทำงานแบบ Work from Anywhere ในช่วงนี้ยังทำให้เกิดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นอีกด้วย ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้องค์กรธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยี นโยบายและบุคลากร จีเอเบิล ในฐานะผู้นำทางด้าน Cybersecurity ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยองค์กรธุรกิจ และแนะนำ Framework ในการรับมือด้านภัยไซเบอร์ รวมถึงนำเสนอ Holistic G-Cyber Solution ที่ช่วยป้องกันระบบและข้อมูลขององค์กรธุรกิจจากการโจมตีทางไซเบอร์ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดย Framework ของจีเอเบิลได้ถูกเสนอผ่านมิติความปลอดภัย 3 ขั้นตอนดังนี้ Diagnostics คือ ...