• TDCX Infographic Regional thai
    290
    0

    80 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยวางแผนสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน โดยใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัล เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล ในอีก2 ปีข้างหน้า กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอาเซียน เห็นคุณค่าในการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีภายนอกเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจ TDCX’s (NYSE: TDCX) เผยผลสำรวจล่าสุด ระบุกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ในประเทศไทยตั้งเป้าในการเลือกใช้งานผู้ให้บริการเทคโนโลยีนอกองค์กร เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นในการเข้าสู่ดิจิทัลให้เร็วยิ่งขึ้น โดยธุรกิจเหล่านี้กำลังมองหาผู้ให้บริการเทคโนโลยี เช่น ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ ซิสเต็มส์อินทิเกรเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ผู้เชี่ยวชาญต้องการเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ รายงานผลสำรวจของ TDCX ในหัวข้อ “กลุ่มเอสเอ็มอีในอาเซียน: ธุรกิจขนาดเล็ก กับโอกาสทองของผู้ให้บริการเทคโนโลยี” (ASEAN SMEs: Small Business, Big Opportunity for Tech Providers) มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทั่วโลกเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วอาเซียน รวมถึงประเทศไทย ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการมีการเติบโตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และความคาดหวังของกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีต่อผู้ให้บริการเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเพิ่งเริ่มต้นเส้นทางสู่ดิจิทัลหรือเปลี่ยนฟังก์ชันในธุรกิจให้เป็นดิจิทัลเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของอาเซียนที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยตระหนักถึงความจำเป็นในการทำระบบดิจิทัล และกำลังดำเนินการเพื่อลดช่องว่างนั้น ผลการศึกษาพบว่า สิ่งที่ธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญสูงสุดในระยะ 2 ปีข้างหน้า คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรม และเพื่อที่จะสนับสนุนการผลักดันสู่ระบบดิจิทัล กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยกำลังมองหาการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีที่มีทักษะด้านเทคนิคที่แข็งแกร่ง (75 เปอร์เซ็นต์) มีความรู้ในอุตสาหกรรม (62 เปอร์เซ็นต์) และมีระยะเวลาตอบสนองที่รวดเร็ว (57 เปอร์เซ็นต์) ...
  • 1669648847080
    373
    0

    “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนพฤศจิกายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร เป็นสำคัญ” นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนพฤศจิกายน 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร เป็นสำคัญ” โดยมีรายละเอียดดังนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 80.9 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในอนาคตที่ดีขึ้น เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมจากคู่ค้าต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 79.0 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเพิ่มขึ้น และในภาคการลงทุน เนื่องจากผู้ประกอบการภาคบริการในบางพื้นที่มีการขยายกิจการ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 76.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคบริการ ...