มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี โดยแต่ละปีจะมีผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกประมาณ 6,000-8,000 คน และเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 8-10 คน* (ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ) ด้วยผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และเกือบ 100% ของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือ ฮิวแมนแป๊ปปิโลม่าไวรัส (Human papilloma virus = HPV) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เชื้อเอชพีวี (HPV) เพราะเป็นเชื้อที่ติดง่าย นอกจากเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถติดต่อทางการสัมผัสได้ด้วย (แต่จะเป็นลักษณะเหมือนพาหะที่นำพาเชื้อไปสู่ช่องคลอดได้) แต่พอติดเชื้อแล้วกลับไม่มีอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่มีบาดแผลอะไรเกิดขึ้น ทำให้กว่าจะรู้ตัวก็ใช้เวลาหลายปี
ช่วงชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งอาจจะเคยได้รับเชื้อ HPV แต่ร่างกายสามารถกำจัดไปได้ และมีบางส่วนที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 15 สายพันธุ์ และใน 15 สายพันธุ์นี้มีทั้งสายพันธุ์ที่เสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย เพราะฉะนั้นคนที่ติดเชื้อ HPV จะมีโอกาสหายมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกและทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก และอื่นๆ โดยปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ นอกจากเชื้อ HPV ที่กล่าวมาได้แก่
- อายุ ส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกมักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
- มีคู่นอนหลายคน ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อ HPV มากขึ้น
- สูบบุหรี่
- มีบุตรจำนวนมาก
- ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์)
- ไม่เคยตรวจภายใน เพื่อค้นหารอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Precancercous lesion) ซึ่งในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่สามารถตรวจพบด้วยการตรวจทางเซลล์วิทยาที่เรียกว่าแป๊ปสเมียร์ (Pap smear) และสามารถรักษาได้ หากตรวจพบรอยโรคในระยะนี้ก็จะสามารถป้องกันการเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
นอกจากความเสี่ยงแล้ว ในส่วนของภูมิคุ้มกันของคุณผู้หญิง ช่วงเวลาที่ภูมิคุ้มกันของตนเองดีก็จะป้องกันการเกิดโรคได้ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นหวัด สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากพักผ่อนน้อย ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง จึงเป็นหวัด หากร่างกายแข็งแรง พักผ่อนเพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ ก็สามารถหายเองได้ แต่โรคพวกนี้ยังมีอาการที่บอกให้รู้ว่าเราเริ่มป่วย หรือเราหายป่วยแล้ว ส่วนคนที่ติดเชื้อ HPV จะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา ซึ่งปกติ 60-70% ของคนที่เป็นจะหายเองได้ แต่ต้องใช้เวลานาน
เพื่อป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกับคุณผู้หญิง สุภาพสตรี การดูแลและรักษามะเร็งปากมดลูกจำเป็นต้องผ่านการตรวจโดยแพทย์ ได้รับการวินิจฉัย คัดกรอง เพื่อหาโรค รวมถึงการเข้าพบแพทย์เพื่อการป้องกัน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคสุขภาพที่สามารถป้องกันได้หากคุณมีความรู้และการดูแลที่ถูกต้อง
การค้นหาความเสี่ยง คัดกรอง เฝ้าระวัง มะเร็งปากมดลูก ขอแนะนำขั้นตอนดังนี้:
ปรึกษาแพทย์: หากคุณมีอาการเสี่ยงหรือความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก เช่น มีประวัติครอบครัวที่เป็นมะเร็งปากมดลูก หรือได้รับวัคซีน HPV อย่างไม่เพียงพอ ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและทำการตรวจรักษาตามคำแนะนำของแพทย์
การตรวจสุขภาพประจำปี: ควรตรวจสุขภาพประจำปีโดยแพทย์ ซึ่งรวมถึงการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) เพื่อค้นพบสภาวะก่อนมะเร็งหรือมะเร็งในขั้นต้น
วัคซีน HPV: หากคุณยังไม่ได้รับวัคซีน HPV ควรรับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
การดูแลร่างกาย: การรักษาสุขภาพที่ดีรวมถึงการดูแลตัวเองอย่างดี รวมถึงการรักษาน้ำหนักที่เหมาะสม, ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
หลีกเลี่ยงความเสี่ยงปัจจัยเกิดโรค : หลีกเลี่ยงสิ่งที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก เช่น สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์, และมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย
การรักษาทางการแพทย์: หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อรักษาโรคอย่างเหมาะสม รู้สึกสบายใจและรองรับการรักษาทางจิตวิทยาและสังคม
การป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำคัญไม่แพ้การรักษา คุณผู้หญิงควรทำเป็นประจำปีเมื่อคุณอยู่ในช่วงวัยที่เหมาะสม. เพื่อหาผลสภาวะการเป็นมะเร็งแล้ว หากไม่มี แพทย์ จะให้ข้อมูลคำแนะนำ ประเมินผล ติดตามดูแล ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคสุขภาพที่สามารถป้องกันได้หากคุณมีความรู้และการดูแลที่ถูกต้อง หากคุณต้องการทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการที่คุณกำลังพบ สามารถไปพบแพทย์ สถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือ ศูนย์เชี่ยวชาญรักษาโรคเฉพาะทางใกล้บ้าน หรือที่คุณสะดวกต่อการตรวจรักษา ให้ทางเลือกบริการที่เหมาะสมกับคุณผู้หญิงได้ ด้วยการรับการตรวจภายในพร้อมตรวจแป๊ปสเมียร์ เพื่อตรวจหารอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง ทำให้ป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ล่าสุด ร.พ.สมิติเวช ได้มีการจัดแพคเกจ Samitivej Chinatown – HPV Vaccine วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบบป้องกัน 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) โดยให้บริการที่ โรงพยาบาล สมิติเวช ไชน่าทาวน์ ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 2566 โดยสามารถใช้สิทธิ์ได้ถึง 31 ธ.ค. 2566
Samitivej Chinatown – HPV Vaccine
- รวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
- กรณีต้องการตรวจหลังจากการติดโควิด จะต้องเว้นระยะ 3 สัปดาห์หลังจากหายแล้ว จึงจะสามารถเข้าใช้บริการได้
- ราคาดังกล่าวขอสงวนสิทธิ์สำหรับชาวไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
- สามารถรับบริการที่โรงพยาบาล สมิติเวช ไชน่าทาวน์ เท่านั้น
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเริ่มมีการผลิตวัคซีนสำหรับป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ในขณะนี้ยังไม่สามารถป้องกันโรคได้ทั้งหมด หากคุณมีความสนใจอาจปรึกษาสูติ-นรีแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้