C Connect News

Main Menu

  • Home
  • ข่าว
    • ภาครัฐ
    • เทคโนโลยี
    • การตลาด
    • การเงิน
    • e-commerce
    • Startup
  • ธุรกิจเอสเอ็มอี
  • บทความ
  • สัมภาษณ์
  • Real estate
  • Lifestyle
    • บันเทิง
    • ท่องเที่ยว
  • About

logo

C Connect News

  • Home
  • ข่าว
    • ภาครัฐ
    • เทคโนโลยี
    • การตลาด
    • การเงิน
    • e-commerce
    • Startup
  • ธุรกิจเอสเอ็มอี
  • บทความ
  • สัมภาษณ์
  • Real estate
  • Lifestyle
    • บันเทิง
    • ท่องเที่ยว
  • About
  • สมรสเท่าเทียมเปิดประตูสู่บ้านในฝัน ดันเทรนด์ที่อยู่อาศัยสดใสในเศรษฐกิจสีรุ้ง

  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม

  • 5 ปีข้างหน้า การ์ทเนอร์ ระบุ “Guardian Agents” ขยายตลาด Agentic AI

  • 21 มิ.ย.นี้ LTS เปิดบ้านต้อนรับนักลงทุนใน mai FORUM 2025 พบโซลูชัน AI – Smart Tech เสริมพอร์ตอนาคต

  • เปิดประตูจับคู่ “เด็ก-บจ.” ฝึกคิดไอบี “CMCC 2025” สร้างวาณิชธนกรยุค AI สู่ตลาดทุนดิจิทัล

ข่าวภาครัฐ
Home›ข่าว›สภาการสื่อมวลชนฯ ปิดโครงการฯ พร้อมย้ำ! ‘การอ่าน’ คือพลังขับเคลื่อนเด็กไทย แนะรัฐต้องทุ่มงบการศึกษาจริงจัง

สภาการสื่อมวลชนฯ ปิดโครงการฯ พร้อมย้ำ! ‘การอ่าน’ คือพลังขับเคลื่อนเด็กไทย แนะรัฐต้องทุ่มงบการศึกษาจริงจัง

By Thitichai
June 7, 2025
278
0
Share:
Highlight 028

สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ จัดงานปิดโครงการ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อฯ พร้อมมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรแก่โรงเรียนที่ได้รางวัล ประชุมทิศทางอนาคตหลักสูตรเท่าทันสื่อ วงเสวนาชี้‘การอ่าน’ต้นทางพัฒนาศักยภาพเด็ก-เยาวชน รัฐบาลต้องเอาจริงกับนโยบายนี้ ต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ครู ผู้ปกครอง ตัวเด็ก และแหล่งเรียนรู้ล้วนเป็นส่วนสำคัญ ชวนแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์

 

Highlight 317

 

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2568 ที่สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ เขตพญาไท มูลนิธิสภาการสื่อมวลชน และสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ได้จัดพิธีมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรแก่โรงเรียนที่ได้รับรางวัลพร้อมพิธีปิดโครงการ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 6 มิ.ย. 2568 ที่สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์ กรุงเทพฯ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ

นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการนี้แบ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการครูเป็น 9 กลุ่มโรงเรียน อบรมโดยใช้หนังสือพิมพ์ระดับชาติเป็นสื่อการสอน 4 กลุ่มโรงเรียน และหนังสือพิมพ์สมาชิกระดับภูมิภาคอีก 5 กลุ่มโรงเรียน มีครูจากกว่า 200 โรงเรียนทั่วประเทศเข้าร่วม ถือว่าดำเนินการได้ครอบคลุม ซึ่งโครงการนี้สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจากโครงการสัปดาห์ส่งเสริมการอ่านหนังสือพิมพ์ในโรงเรียน ตั้งแต่เมื่อกว่า 10 ปีก่อน สมัยที่ยังเป็นสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

Highlight 240

นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ

กระทั่งเมื่อเปลี่ยนมาเป็นสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ จึงได้หารือกับทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดโครงการ และแม้ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนไปอย่างมากเมื่อเทียบกับเมื่อ 10 ปีก่อน หนังสือพิมพ์ไม่ใช่ช่องทางหลักในการบริโภคสื่ออีกต่อไป แต่หนังสือพิมพ์ก็ยังมีความสำคัญอยู่ จึงยังคงยืนยันในการใช้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อการสอน แต่ก็เสริมเรื่องการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์เข้าไปด้วย

ซึ่งหลังจากการอบรมครูใน 9 กลุ่มโรงเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือพิมพ์ ก็จะเป็นช่วงเวลาที่ให้กลับไปจัดกิจกรรมกันในแต่ละโรงเรียน แล้วเชิญครูที่จัดกิจกรรมไปแล้วกลับมาประเมินผล เช่น พบข้อสังเกตหรือมีข้อเสนอแนะอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลให้สภาการสื่อมวลชนแห่งชาตินำไปใช้ปรับปรุงหรือต่อยอดการจัดโครงการลักษณะนี้ต่อไป

“เมื่อเราได้สัมมนาประเมินผลของกิจกรรมไปครบทั้ง 9 กลุ่ม ทางคณะทำงานรวมทั้งมีผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมาร่วมในการพิจารณาผลงานการจัดกิจกรรมของแต่ละโรงเรียนในแต่ละกลุ่ม แล้วก็คัดเลือกโรงเรียนที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ มาร่วมกันสัมมนาปิดโครงการ และมาร่วมในพิธีรับรางวัลในวันนี้” ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าว

ภายในงานมีการเสวนา หัวข้อ “ถอดบทเรียนการส่งเสริมการอ่านและรู้เท่าทันสื่อในประเทศไทย” โดยผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย  ดร.วสันต์ สุทธาวาศ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางสาวพจมาลย์ ปทุมบริสุทธิ์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และนางสุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ดำเนินการเสวนา โดย คุณครูระวีพร แสนพยุห์ ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)

Highlight 085

ดร.วสันต์ สุทธาวาศ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า การอ่านเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ทั้งหมด การอ่านจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างเคยเจอเด็กชั้นมัธยม มีศักยภาพในการเรียนรู้ แต่เมื่ออ่านได้ไม่คล่องก็ทำให้ศักยภาพนั้นลดลงอย่างมาก

ทั้งนี้รอยต่อระหว่างช่วงชั้นปฐมวัยกับประถมศึกษา มีหลายปัญหาที่ทำให้ประสิทธิภาพในการอ่านไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เช่น การออกแบบหลักสูตร ที่มีเวลาให้ฝึกอ่านเขียนน้อยมาก คือวันละเพียง 1 ชั่วโมง ซึ่งหากเชื่อว่าการอ่านเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนต่อเนื่อง เวลาที่ให้มาดังกล่าวก็จะเห็นชัดเจนว่าขาดช่วงในการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ การบริหารจัดการในสถานศึกษา ผู้บริหารมักเน้นรายงานจำนวนเด็กที่อ่านออกเขียนได้กี่คน และคิดเป็นสัดส่วนเท่าใด แต่ยังขาดการบริหารภายในที่ช่วยหนุนเสริมให้เกิดการฝึกฝนพัฒนาต่อเนื่อง รวมถึงการส่งต่อระหว่างช่วงชั้น เช่น จากปฐมวัยขึ้นถึงประถมศึกษา ต้องเตรียมเรื่องอะไรที่เหมาะสมกับช่วงวัยและธรรมชาติของเด็ก

Highlight 057

ดร.วสันต์ สุทธาวาศ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

บทบาทของครู ในฐานะที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะวุฒิการศึกษาหรือความรู้ความสามารถของครูเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของคุณลักษณะบางประการของครูที่จะเข้าไปสร้างพื้นที่ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพราะการฝึกเด็กให้อ่านออกเขียนได้ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ครูต้องละเมียดละไมในการทำความรู้จักพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคล ต้องใคร่ครวญอย่างมากในการออกแบบ ทั้งการฝึกวินัย การเสริมแรง เพื่อพัฒนาเด็กขึ้นมา

บทบาทของผู้ปกครอง หากมองว่าการอ่านเป็นทักษะที่ต้องใช้การฝึกฝน “ช่วงเวลาคุณภาพ” ก็สำคัญ เพราะต้องให้มีความต่อเนื่อง ดังนั้นการที่ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญ โดยมองว่าตนเองต้องทำมาหากิน ในเมื่อส่งบุตรหลานไปโรงเรียนแล้วครูก็ต้องมีหน้าที่สอน ผลคือช่วงเวลาที่ต่อเนื่องอาจไม่เพียงพอ โอกาสที่จะพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะขาดหายไป

ตัวเด็กเอง ซึ่งแต่ละคนมีศักยภาพในการเรียนรู้แตกต่างกันไปในแต่ละเรื่อง จึงต้องออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน เช่น เด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนดอย อย่างดอยตุง โครงการดอยตุงจะออกแบบวิธีการสอนภาษาไทยอีกแบบหนึ่ง และเป็น Intensive (เข้มข้น) โดยเฉพาะ เพราะรู้ว่าเด็กที่นั่นไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ หรือเด็กกลุ่มอื่นๆ เช่น เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ก็อาจต้องได้รับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในเรื่องนี้เป็นพิเศษ ซึ่งแน่นอนก็เป็นครูที่จะต้องรู้จักเด็ก

“อีกประเด็นที่คิดว่าสำคัญมากและเกี่ยวโยงกับงานเราด้วย คือเรื่องของแหล่งเรียนรู้ในการเข้าไปช่วยเอื้อให้เกิดบรรยากาศในการอ่านออกเขียนได้ของเด็ก ยกตัวอย่างการมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ที่เด็กได้เข้าถึงหนังสือที่น่าสนใจ เข้าถึงการอ่านที่เชื่อมโยงกับชีวิตของเขาที่เป็นเรื่องใกล้ตัว อย่างสมัยเรามี Student Weekly เดี๋ยวนี้หนังสืออ่านนอกเวลาก็ห่างหายจากห้องเรียนไปไกลมาก ไม่มีเลย ซึ่งจริงๆ มันดีมาก อาจจะด้วยความเร่งรีบของโลกปัจจุบันที่เป็นดิจิทัล อาจจะด้วยภาระงานอะไรต่างๆ มันเลยทำให้แหล่งเรียนรู้ไม่ว่าจะในหรือนอกโรงเรียนค่อนข้างไม่เอื้อต่อการเรียนรู้กับเด็ก” ดร.วสันต์ กล่าว  

นางสาวพจมาลย์ ปทุมบริสุทธิ์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า หากมองที่ผู้ปกครอง อาจไม่มีเวลาบ้าง ที่บ้านไม่มีหนังสือหรือสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมบ้าง จึงคาดหวังกับครูและโรงเรียนอย่างมาก มาส่งบุตรหลานที่โรงเรียนแต่เช้าและหวังว่า 8 ชั่วโมงของการที่เด็กอยู่ในโรงเรียนต้องทำให้อ่านออกเขียนได้ แต่สิ่งที่ผู้ปกครองลืมคำนึงไปคือผู้เป็นต้นแบบของบุตรหลานก็คือตัวผู้ปกครองเองด้วย กล่าวคือ ผู้ปกครองต้องเป็นต้นแบบของการรักการอ่านเสียก่อน

Highlight 088

นางสาวพจมาลย์ ปทุมบริสุทธิ์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.)

ขณะที่ในส่วนของ กทม.เอง ก็มีประเด็นเด็กพหุวัฒนธรรม พ่อแม่ใช้ภาษาไทยไม่ได้ เช่น บุตรหลานของผู้ปกครองในแคมป์คนงาน เด็กมาเรียน 3 เดือนก็ย้ายถิ่นไป ทำให้ครูขาดความต่อเนื่องในการสอนแม้จะอยากสอนให้เต็มที่ก็ตาม อย่างมีครูบางคนถึงขั้นไปตามเด็กที่แคมป์คนงานให้มาเรียนหนังสือ แต่อีกด้านก็คือผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือด้วย นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเรื่อง “เทคโนโลยี” เด็กเกิดมาพร้อมคอมพิวเตอร์พกพาหรือโทรศัพท์มือถือ ก็ไม่จำเป็นต้องอ่าน อาศัยแต่เพียงการฟังและไม่ได้สื่อสารกับใคร แต่การอ่านเป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์อย่างหนึ่ง

“เรามีสื่อ เราอ่าน เราอ่านไม่ออก เราหันไปถามพ่อแม่ พ่อแม่ตอบเราได้มันคือการปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว ในโรงเรียน แล้วก็ในชุมชนของเรา นั่นคือจุดหนึ่งที่เราอาจมองข้ามไปในเรื่องของการใช้สื่อด้วย การอ่านด้วย แล้วก็ครอบครัว ทัศนคติก็มีส่วนในบางครั้งที่เรามอง ทัศนคติที่ว่าเราอาจไม่ต้องอ่านอะไรเยอะก็ได้ เพราะเดี๋ยวนี้มี AI (ปัญญาประดิษฐ์) เข้ามาช่วยมากเลย ไม่ต้องคิดเยอะแล้วเพราะ AI ช่วย แต่อย่าลืมว่า AI แทนความรู้สึกของมนุษย์ไม่ได้ ดังนั้นเราจึงจะต้องช่วยกันส่งเสริมในเรื่องของการอ่านให้มากขึ้น” นางสาวพจมาลย์ กล่าว

ด้านนางสุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำงานมา 10 ปี มองว่าสังคมไทยยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องความสำคัญของการอ่าน ในขณะที่องค์การยูเนสโกประกาศให้การอ่านเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลทั่วโลกที่ต้องทำให้มนุษย์ทุกคนอ่านออกเขียนได้ เพราะเป็นต้นทางไปสู่การมีงานทำที่เหมาะสม การมีคุณภาพชีวิต มีพฤติกรรมสุขภาพ และพัฒนาศักยภาพ แต่รัฐบาลยังไม่ทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง อย่างประเทศไทยรณรงค์การอ่านเป็นวาระแห่งชาติมา 10 ปี แต่ขาดงบประมาณและมาตรการที่นำไปสู่การปฏิบัติ

 

Highlight 091

แต่หากจะไปต่อกันในเรื่องการอ่าน รัฐบาลต้องเอาจริงเอาจังในนโยบาย งบประมาณต้องมี มาตรการต้องสร้าง และต้องให้ทุกครอบครัวลุกขึ้นทำ โดยในปี 2568 มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมกับคณะกรรมการปฐมวัย ตลอดจน กทม. และอีกหลายพื้นที่ ประกาศเรื่องสวัสดิการการให้หนังสือเพื่อเด็กแรกเกิดเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งพบว่าเมื่อมีหนังสือที่บ้านและพ่อแม่เข้าใจ มีการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ขณะที่ศูนย์เด็กแล็กและศูนย์เรียนรู้ชุมชนมีหนังสือให้หมุนเวียน รวมถึงแพทย์แนะนำให้แม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์

เพราะการที่ผู้ปกครองอ่านหนังสือให้บุตรหลานฟัง เด็กจะเกิดความสุข มีการสร้างสายสัมพันธ์ ซึ่งสายใยแรกนั้นสำคัญมากเนื่องจากเป็นการก่อเกื้อความเป็นมนุษย์ มีจิตสงสารเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ซึ่งสิ่งนี้สร้างได้ในวัย 0 – 6 ปีเท่านั้น หากเลยไปแล้วจะสร้างยากมาก ทั้งนี้ มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ร้อยละ 60 ของผู้ก่ออาชญากรรมทั่วโลก มีพื้นเพมาจากการเป็นผู้ไม่รู้หนังสือ หมายถึงอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และขาดการสร้างสายสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ซึ่งสิ่งนี้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ก็ไม่สามารถสร้างให้ได้

“เราอ่านให้ฟัง ไม่ต้องการเวลามาก ต้องการแค่เวลาคุณภาพ หนังสือ 1 เล่มในเด็กเล็ก 2 – 3 นาทีจบแล้ว อ่านสัก 2 – 3 เล่ม สักครึ่งชั่วโมงต่อวัน ก่อนเด็กเข้าสู่ ป.1 100% เลยเด็กอ่านออกเขียนได้แล้ว ไม่ต้องไปแก้ไขปัญหาตอนช่วงชั้นที่ 1 แล้วทำอย่างไรกลุ่มเด็กช่วงอนุบาลถึงรอยต่อ ป.1 ถ้าบังเอิญหลุดจากครอบครัวที่ไม่มีใครอ่านให้ฟังแล้วอ่านไม่ออก – เขียนไม่ได้มาตั้งแต่ที่บ้าน จะทำอย่างไร? เขาพลาดโอกาสทองเยอะเลยนะ แต่มันยังมีหนังสือที่ช่วยเด็กได้ เมื่อก่อนประเทศไทยมีหนังสือที่ดีมากๆ แล้วหายไป มานะ – มานี เป็นชุดหนังสือที่ดีมาก เป็นไปตามขั้นพัฒนาการของเด็ก และพัฒนาการด้านภาษา แต่ห่างหายไป” นางสุดใจ กล่าว

 

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ยังมีการประชุมกลุ่มย่อย Lesson Learn ร่วมกำหนดทิศทางอนาคตหลักสูตรเท่าทันสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน โดยมี รศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ และคณะทำงานโครงการสร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์ เป็นผู้นำกระบวนการ ขณะที่ในช่วงบ่าย ยังมีเสวนาภาคีเครือข่าย มุมมองทิศทางอนาคตหลักสูตรเท่าทันสื่อยุคช้อมูลข่าวสาร (Information Age) และดิจิทัล (Digital) ผู้ร่วมเสวนา คุณสุธาทิพ ลาภสมทบ ผู้เชี่ยวชาญ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ คุณดำฤทธิ์ วิริยะกุล บรรณาธิการข่าวภูมิภาค หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คุณจักรกฤชณ์ แววคล้ายหงษ์ เจ้าของ-บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ประชามติตราด คุณชลธิษ จันทร์สิงห์ บรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์ปทุมมาลัย จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการเสวนาโดย รศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม หัวหน้าโครงการฯ

Highlight 297

รศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์”

และพิธีปิดโครงการ มอบโล่รางวัลและเกียรติบัตร ให้กับคุณครู ที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมประกาศทิศทางอนาคตหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน ก่อนปิดโครงการฯ ซึ่งโครงการ “สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินการโดยสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และมูลนิธิสภาการสื่อมวลชน ร่วมกับภาคี ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์มติชน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หนังสือพิมพ์ประชามติ จ.ตราด หนังสือพิมพ์เพชรภูมิ จ.เพชรบุรี หนังสือพิมพ์หัวหินสาร จ.ประจวบคีรีขันธ์ หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส จ.สงขลา หนังสือพิมพ์ส่องใต้นิวส์ จ.สตูล หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ จ.เชียงใหม่ หนังสือพิมพ์ปทุมมาลัย จ.อุบลราชธานี ได้จัดอบรมครูที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 200 คน เรียนรู้ด้วยหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ก่อนนำความรู้และทักษะไปจัดกิจกรรมกับนักเรียน โดยมีนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาเข้าร่วมโครงการกว่า 4,500 คน ได้เรียนรู้ และเสริมสร้างทักษะจากการอ่านหนังสือพิมพ์

Highlight 318

สำหรับโรงเรียนที่ได้รับโล่รางวัล โครงการ”สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อเพื่อเด็กด้วยหนังสือพิมพ์” ประกอบด้วย รางวัลต้นแบบพื้นที่เรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) จังหวัดเพชรบุรี โรงเรียนอนุบาลชุมชนวัดหนองบัว (รัตนวงศ์ราษฎร์บำรุง) จังหวัดตราด รางวัลสร้างสรรค์การเรียนรู้โรงเรียนอนุบาลมะนัง จังหวัดสตูล โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว) จังหวัดแม่ฮ่องสอน รางวัลการออกแบบและกระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนวัดหูแร่ จังหวัดสงขลา โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร) เขตบางกะปิ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เขตบางเขน

รางวัลบูรณาการการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ) เขตหลักสี่ โรงเรียนเทศบาลบ้านสมอโพรง (ญาณวิลาสอุทิศ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รางวัลนวัตกรรมการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านคลองขุด จังหวัดสตูล โรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ) โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 84 (บ้านสำราญเพี้ยฟาน) จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 77 (บ้านเนินสันติ) จังหวัดชุมพร

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์) โรงเรียนอนุบาลลพบุรี จังหวัดลพบุรี โรงเรียนสุเหร่าสมอเซ จังหวัดฉะเชิงเทรา

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์มติชน) โรงเรียนวัดลาดพร้าว เขตลาดพร้าว โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์) เขตทวีวัฒนา

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ เขตสวนหลวง โรงเรียนวัดดอกไม้ เขตยานนาวา

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์สงขลาโฟกัส) โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านหาดใหญ่) จังหวัดสงขลา โรงเรียนวรพัฒน์ จังหวัดสงขลา

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์ส่องใต้) โรงเรียนบ้านวังปริง จังหวัดสตูล

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์เพชรภูมิ) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธา จังหวัดเพชรบุรี โรงเรียนเทศบาล 3 ชุมชนวัดจันทราวาส จังหวัดเพชรบุรี

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์หัวหินสาร) โรงเรียนบ้านหนองตะเภา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์) โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์ปทุมมาลัย) โรงเรียนบ้านทุ่งขุนน้อยหนองจานวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม (ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) จังหวัดอุบลราชธานี

รางวัลยอดเยี่ยมเชิงพื้นที่การเรียนรู้ (หนังสือพิมพ์ประชามติตราด) โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง จังหวัดตราด โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ จังหวัดตราด

Related posts:

โนเบิล เปิดตัว "นิว คอนเน็กซ์ บิซ ดอนเมือง" อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่บนทำเลทองใจกลางเมือง เริ่มต้นเพียง 9...

น่าตกใจ! คนไทยตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ วันละกว่า 2 แสนคน

ราคาน้ำมันพุ่งต่อเนื่อง! 3 วันติดต่อกัน กลุ่มเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ขึ้น 0.60 บาท/ลิตร

  • FacebookFacebook
  • XX
  • LINELine
Tagsการศึกษากิจกรรมโครงการ
Previous Article

ผู้ถือหุ้น LTS ไฟเขียวซื้อกิจการ ENS เสริมแกร่งธุรกิจ IT Solutions

Next Article

ทำไม? ต้องรวมหนี้หลายก้อนให้เหลือก้อนเดียว

0
Shares
  • 0
  • +
  • 0

Thitichai

นักข่าวภาคสนาม ข่าวธุรกิจ เศรษฐกิจ ไอที

Related articles More from author

  • TrueShopping 12th ANV 01
    การตลาดข่าว

    ทรูช้อปปิ้ง ฉลองครบรอบ 12 ปี ส่งแคมเปญ “คุ้มใหญ่ ช้อปไม่ยั้ง”

    October 12, 2023
    By Thitichai
  • TPL 1
    ข่าวเทคโนโลยี

    เอเซอร์ – อินเทล เฟ้นหาตัวแทนไทยเข้าชิงศึก Asia Pacific Predator League 2025 มาเลเซีย

    August 10, 2024
    By Thitichai
  • Kick off 01 1666129
    ข่าว

    “สภาการสื่อมวลชน – กองทุนสื่อ”  KICK OFF โครงการฯอ่านหนังสือพิมพ์เด็กนักเรียน ป.5

    November 23, 2024
    By Thitichai
  • S 80781343 0
    สัมภาษณ์Lifestyleข่าว

    The World Entertainment ทุกงานอีเว้นท์ของคุณเป็นจริงได้

    January 28, 2025
    By Thongchai Thongmont
  • คุณครูสอนนักเรียนที่ รร.สามัคคีวิทยาคม จ.เชียงราย
    ข่าวภาครัฐ

    ปฏิรูปการศึกษาไทย “หลักสูตรท้องถิ่น” กระจายอำนาจให้โรงเรียน

    September 8, 2024
    By Thitichai
  • โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
    การตลาดข่าว

    โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลเปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม จับมือเคทีซีมอบสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก

    October 29, 2024
    By Thitichai

You may interested

  • SYNOLOGY SECUTECH FIRE SAFETY 2024 01
    ข่าวเทคโนโลยี

    สำรองข้อมูลกล้องวงจรปิดโต Synology จัดโซลูชันครบวงจรรับดีมานซ์ตลาดธุรกิจไทย

  • 701322 0
    ข่าวธุรกิจเอสเอ็มอี

    เกษตรกรดีใจ “สับปะรดเชียงราย” ราคาพุ่ง กก.ละ 15 บาท

  • GHB 12870032
    การเงินข่าว

    ธอส. MOU สมาคมนักบัญชีไทย จัดสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำมอบสมาชิก

  • LATEST REVIEWS

  • TOP REVIEWS

Timeline

  • June 21, 2025

    สมรสเท่าเทียมเปิดประตูสู่บ้านในฝัน ดันเทรนด์ที่อยู่อาศัยสดใสในเศรษฐกิจสีรุ้ง

  • June 20, 2025

    ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม

  • June 20, 2025

    5 ปีข้างหน้า การ์ทเนอร์ ระบุ “Guardian Agents” ขยายตลาด Agentic AI

  • June 19, 2025

    21 มิ.ย.นี้ LTS เปิดบ้านต้อนรับนักลงทุนใน mai FORUM 2025 พบโซลูชัน AI – Smart Tech เสริมพอร์ตอนาคต

  • June 19, 2025

    เปิดประตูจับคู่ “เด็ก-บจ.” ฝึกคิดไอบี “CMCC 2025” สร้างวาณิชธนกรยุค AI สู่ตลาดทุนดิจิทัล

Find us on Facebook

logo

C Connect News I ซีคอนเนคนิวส์

Alternative business news for entrepreneurs in the new era

ข่าว บทความ บทสัมภาษณ์ ด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ  ดิจิทัล เทคโนโลยี ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์

About us

  • กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • 094-528-9626
  • stalent.agency@gmail.com
  • Recent

  • Popular

  • DDproperty LGBTQIAN Property Trends 02

    สมรสเท่าเทียมเปิดประตูสู่บ้านในฝัน ดันเทรนด์ที่อยู่อาศัยสดใสในเศรษฐกิจสีรุ้ง

    By Thitichai
    June 21, 2025
  • Cloudflare2

    ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม

    By Thitichai
    June 20, 2025
  • Gartner pic 3 rs

    5 ปีข้างหน้า การ์ทเนอร์ ระบุ “Guardian Agents” ขยายตลาด Agentic AI

    By Thitichai
    June 20, 2025
  • LTS mai FORUM 2025 ceo

    21 มิ.ย.นี้ LTS เปิดบ้านต้อนรับนักลงทุนใน mai FORUM 2025 พบโซลูชัน AI – Smart Tech เสริมพอร์ตอนาคต

    By Thitichai
    June 19, 2025
  • DDproperty LGBTQIAN Property Trends 02

    สมรสเท่าเทียมเปิดประตูสู่บ้านในฝัน ดันเทรนด์ที่อยู่อาศัยสดใสในเศรษฐกิจสีรุ้ง

    By Thitichai
    June 21, 2025
  • ซัมซุง จับมือ Netflix สร้างสีสันภาคต่อซีรีส์สุดฮิต Emily in Paris ซีซั่น 2

    ซัมซุง จับมือ Netflix สร้างสีสันภาคต่อซีรีส์สุดฮิต Emily in Paris ซีซั่น 2

    By Thitichai
    December 27, 2021
  • SIX CHARACTERS มายาพิศวง

    “มาริโอ้ – แพนเค้ก” ประชันบทบาทสุดฝีมือ SIX CHARACTERS มายาพิศวง 

    By Thitichai
    December 27, 2021
  • 10 คำถามปัญหาหมู ... สู่ทางรอดคนเลี้ยง-ทางออกคนกิน

    10 คำถามปัญหาหมู … สู่ทางรอดคนเลี้ยง-ทางออกคนกิน

    By admin
    January 17, 2022

Follow us

  • Contact
  • About Us
  • Home
© Copyright C Connect 2023 All rights reserved.
We use cookies on our website to give you the most relevant experience by remembering your preferences and repeat visits. By clicking “Accept”, you consent to the use of ALL the cookies.
Do not sell my personal information.
Cookie SettingsAccept
Manage consent

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may affect your browsing experience.
Necessary
Always Enabled
Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. These cookies ensure basic functionalities and security features of the website, anonymously.
CookieDurationDescription
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics".
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsThe cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional".
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary".
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other.
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance".
viewed_cookie_policy11 monthsThe cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data.
Functional
Functional cookies help to perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collect feedbacks, and other third-party features.
Performance
Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.
Analytics
Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.
Advertisement
Advertisement cookies are used to provide visitors with relevant ads and marketing campaigns. These cookies track visitors across websites and collect information to provide customized ads.
Others
Other uncategorized cookies are those that are being analyzed and have not been classified into a category as yet.
SAVE & ACCEPT