ยอดพุ่ง ! ต่างชาติหอบเงินมาลงทุนในไทย 5 เดือนแรก ปี 67 กว่า 7 หมื่นล้านบาท
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กางตัวเลขของชาวต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-พฤษภาคม) มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้อนุญาตให้นักลงทุนเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 317 ราย เงินลงทุนสะพัดกว่า 54,958 ล้านบาท มีการจ้างแรงงานไทยมากถึง 1,212 คน ญี่ปุ่นยังคงครองแชมป์ลงทุนเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาเป็นฮ่องกง และ จีน ตามลำดับ
ส่วนการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC มีจำนวน 99 ราย เพิ่มขึ้นถึง 106% จากปีที่แล้ว มีมูลค่าการลงทุนรวม 18,224 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 93% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่
- ญี่ปุ่น จำนวน 84 ราย คิดเป็นร้อยละ 26 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุนรวม 40,214 ล้านบาท
2. สิงคโปร์ จำนวน 51 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย มีเงินลงทุน 5,189 ล้านบาท
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ มีเงินลงทุน 1,196 ล้านบาท
4. จีน จำนวน 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 12 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ มีเงินลงทุน 5,485 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจประเภท
5. ฮ่องกง จำนวน 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย มีเงินลงทุน 12,048 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับ
สำหรับการลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนชาวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 มีชาวต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 99 ราย คิดเป็น 31% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 51 ราย หรือเพิ่มขึ้น 106% เป็นนักลงทุนจาก *ญี่ปุ่น 31 ราย ลงทุน 3,523 ล้านบาท จีน 19 ราย ลงทุน 1,803 ล้านบาท *ฮ่องกง 11 ราย ลงทุน 5,005 ล้านบาท และประเทศอื่นๆ 38 ราย ลงทุน 7,893 ล้านบาท โดยธุรกิจที่ลงทุนเช่น
- ธุรกิจบริการทางวิศวกรรม โดยเป็นการออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับระบบต่างๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบทำน้ำเย็น และระบบปรับอากาศ เป็นต้น
2. ธุรกิจบริการออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทเข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัย
3. ธุรกิจบริการให้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับเชื่อมต่อกับระบบบริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและเดบิตของ ผู้ให้บริการทางการเงิน
4. ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ชุดเกียร์สำหรับยานพาหนะและชิ้นส่วนชุดเกียร์, ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ชิ้นส่วนโลหะ เป็นต้น)
5. ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อจำหน่าย และ/หรือให้บริการ เช่น ระบบควบคุมการผลิตในโรงงาน และระบบจัดการคลังสินค้า